ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
————————-
เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลตามความต้องการและความเหมาะสมของท้องถิ่น ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ก าหนดให้คณะกรรมการมาตรฐานการ บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ก าหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบ ให้มีทิศทางที่เหมาะสมและเป็นธรรม อาศัยอ านาจตามความในมาตรา ๓๓ (๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงาน บุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๖/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๔ ให้ประกาศก าหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นไว้ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “พนักงานส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงาน เทศบาล พนักงานส่วนต าบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานเมืองพัทยา และข้าราชการหรือ พนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงิน อุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน ามาจัดเป็นเงินเดือน ของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อ ๓ พนักงานส่วนท้องถิ่น นอกจากมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนดแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติ ทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ ากว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) ไม่เป็นผู้ด ารงต าแหน่งข้าราชการการเมือง และไม่เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง ทั้งนี้ การก าหนดคุณสมบัติทั่วไปและลักษณะต้องห้ามตามมาตรฐานทั่วไป ที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนดต้องเทียบได้ไม่น้อยกว่ามาตรฐานของ ข้าราชการพลเรือน
ข้อ ๓/๑ การสรรหาบุคคล การแต่งตั้งและการให้พ้นจากต าแหน่ง การเพิ่มพูน ประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้พิจารณา โดยค านึงถึงความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จ าเป็นตามบัญชีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จ าเป็นท้ายประกาศนี้ (ข้อ ๓/๑ เพิ่มโดยประกาศ ก.ถ. เรื่อง ก าหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗)
หมวด ๒ การก าหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ การก าหนดต าแหน่งและมาตรฐานของต าแหน่ง
ข้อ ๔ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก าหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ และการก าหนดต าแหน่ง โดยค านึงถึงอ านาจหน้าที่และปริมาณงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ภายใต้กรอบมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด เพื่อให้การด าเนินการตามวรรคหนึ่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจัดท าแผนอัตราก าลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงาน ส่วนท้องถิ่นพิจารณาให้ความเห็นชอบ และจัดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและการก าหนดต าแหน่งให้ เป็นไปตามแผนอัตราก าลังดังกล่าว แผนอัตราก าลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องเป็นไปตามกรอบมาตรฐาน ทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด
ข้อ ๔/๑ การก าหนดต าแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้มี ๔ ประเภท ดังต่อไปนี้ (๑) ต าแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ต าแหน่งปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรองปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือต าแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่คณะกรรมการกลาง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด (๒) ต าแหน่งประเภทอ านวยการ ได้แก่ ต าแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับฝ่าย ระดับส่วน ระดับกอง ระดับส านักในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือต าแหน่งระดับที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่ คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด (๓) ต าแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ต าแหน่งที่จ าเป็นต้องใช้ผู้ส าเร็จการศึกษา ระดับปริญญา ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของต าแหน่งนั้น (๔) ต าแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ต าแหน่งที่ไม่ใช่ต าแหน่งประเภทบริหาร ต าแหน่งประเภทอ านวยการ และต าแหน่งประเภทวิชาการ ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลาง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของต าแหน่งนั้น
ข้อ ๔/๒ ต าแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้มีระดับดังต่อไปนี้ (๑) ต าแหน่งประเภทบริหาร (ก) ระดับต้น (ข) ระดับกลาง (ค) ระดับสูง (๒) ต าแหน่งประเภทอ านวยการ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับกลาง (ค) ระดับสูง (๓) ต าแหน่งประเภทวิชาการ (ก) ระดับปฏิบัติการ (ข) ระดับช านาญการ (ค) ระดับช านาญการพิเศษ (ง) ระดับเชี่ยวชาญ (๔) ต าแหน่งประเภททั่วไป (ก) ระดับปฏิบัติงาน (ข) ระดับช านาญงาน (ค) ระดับอาวุโส การจัดพนักงานส่วนท้องถิ่นเข้าสู่ประเภทต าแหน่งและระดับต าแหน่ง ให้เป็นไปตาม มาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด (ข้อ ๔/๑ และ ข้อ ๔/๒ เพิ่มโดยประกาศ ก.ถ. เรื่อง ก าหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗)
ข้อ ๕ การก าหนดมาตรฐานของต าแหน่งและอัตราต าแหน่ง ให้จ าแนกต าแหน่ง เป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดต าแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพ ของงานอยู่ในระดับเดียวกันโดยประมาณเป็นกลุ่มเดียวกันและระดับเดียวกัน โดยค านึงถึงลักษณะหน้าที่ ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน ความก้าวหน้าในสายงานของพนักงานส่วนท้องถิ่นประกอบกับลักษณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีขนาดแตกต่างกันด้วย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลาง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด มาตรฐานทั่วไปตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุชื่อต าแหน่งในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ หลักคุณสมบัติเฉพาะส าหรับต าแหน่ง ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จ าเป็น ตามบัญชีความรู้ ทักษะ และ สมรรถนะ ที่จ าเป็นท้ายประกาศนี้ (ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศ ก.ถ. เรื่อง ก าหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗)
หมวด ๓ โครงสร้างอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น
ข้อ ๖ การจัดโครงสร้างอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น ให้ค านึงถึง หน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพปริมาณและความยากง่ายของงานในแต่ละต าแหน่ง ให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม แก่รายได้และการพัฒนาท้องถิ่นตามอ านาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจ าต าแหน่งของพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไป ตามบัญชีอัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจ าต าแหน่งท้ายประกาศนี้ อัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะและอัตราเงินประจ าต าแหน่งของพนักงานครู ส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามอัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะและอัตราเงินประจ าต าแหน่งที่ก าหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยอนุโลม (ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศ ก.ถ. เรื่อง ก าหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ และ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗)
ข้อ ๗ ให้มีการจัดประโยชน์ตอบแทนอื่นแก่พนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นการ เสริมสร้างความมั่นคง สร้างขวัญและแรงจูงใจให้กับพนักงานส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไป ที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด (ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศ ก.ถ. เรื่อง ก าหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗)
หมวด ๔ การสรรหาบุคคล
ข้อ ๘ การสรรหาบุคคลเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ใช้วิธีการ สอบแข่งขันหรือการคัดเลือก โดยด าเนินการในรูปคณะกรรมการและค านึงถึงความเป็นธรรม และความเสมอ ภาคในโอกาสแก่บุคคลที่มีสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้เหมาะสมกับต าแหน่งตามวัตถุประสงค์ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ ๙ การสอบแข่งขัน อย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้ (๑) หลักสูตรการสอบแข่งขัน อย่างน้อยต้องมี ๓ ภาค คือ ภาคความรู้ ความสามารถทั่วไป ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะต าแหน่งและภาคความเหมาะสมกับต าแหน่ง (๒) การก าหนดหลักสูตร วิธีการสอบแข่งขันและวิธีด าเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การน ารายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในต าแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชี เป็นผู้สอบแข่งขันได้ในต าแหน่งอื่นและการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ (๓) ผู้สมัครสอบแข่งขันในต าแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะ ส าหรับต าแหน่งที่ก าหนดไว้ในมาตรฐานของต าแหน่งนั้น การด าเนินการสอบแข่งขัน ให้ด าเนินการเป็นการทั่วไปอย่างเปิดเผย โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยค านึงถึงหลักวิชาการวัดผล การประกาศผลการสอบให้ด าเนินการอย่างเปิดเผย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้จากองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการอื่น ซึ่งมีหลักสูตร หลักเกณฑ์ และมาตรฐานการสอบเทียบเท่ากับมาตรฐานของ ก.พ. มาบรรจุเข้ารับราชการได้โดยความยินยอมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการนั้น และเป็นไปตาม ความสมัครใจของผู้สอบแข่งขันได้ตามล าดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้และต้องเป็นบัญชีผู้สอบแข่งขันต าแหน่ง เดียวกับต าแหน่งที่จะบรรจุเข้ารับราชการ เว้นแต่ คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด เป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๐ การคัดเลือก ให้ค านึงถึงความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับต าแหน่ง และต้องเป็นไปตามความต้องการและความเหมาะสมของท้องถิ่น การด าเนินการคัดเลือกอาจกระท าโดยการสอบสัมภาษณ์ สอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ หรือทดลองปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างก็ได้ และให้น าความในข้อ ๙ (๒) และข้อ ๙ วรรคสอง มาใช้บังคับในกรณีดังกล่าวด้วย การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ช านาญการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด ในกรณีที่มีเหตุพิเศษไม่จ าเป็นต้องด าเนินการสอบแข่งขัน อาจคัดเลือกบุคคล เพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลาง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด โดยค านึงถึงมาตรฐานที่ ก.พ. ก าหนดด้วย
หมวด ๕ การแต่งตั้งและการให้พ้นจากต าแหน่ง
ข้อ ๑๑ การบรรจุและแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่นต าแหน่งใด ให้ค านึงถึงความรู้ความสามารถ คุณสมบัติเฉพาะส าหรับต าแหน่ง รวมทั้งให้พิจารณาถึงคุณลักษณะความ จ าเป็นอื่น ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานในต าแหน่งนั้นตามลักษณะงานของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น และการแต่งตั้ง ให้ด ารงต าแหน่ง ให้บรรจุและแต่งตั้ง จาก (๑) ผู้สอบแข่งขันได้ตามล าดับที่การขึ้นบัญชี ตามข้อ ๙ (๒) (๒) ผู้ได้รับคัดเลือก ตามข้อ ๑๐ (๓) กรณีอื่นตามที่ก าหนดไว้ในกฎหมาย หรือตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลาง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด ข้อ ๑๒ การย้ายพนักงานส่วนท้องถิ่นให้ไปด ารงต าแหน่งใด ให้เป็นไปตาม คุณสมบัติเฉพาะ ส าหรับต าแหน่งนั้น โดยค านึงถึงความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ เพื่อประโยชน์แก่การ บริหารงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการพัฒนาพนักงานส่วนท้องถิ่น การย้ายพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ด ารงต าแหน่งใดไปแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งอื่น ภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งเดียวกัน ต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งในระดับเดียวกัน เว้นแต่กรณีการย้ายไปแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งในระดับที่ต่ ากว่าเดิม ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของ พนักงาน ส่วนท้องถิ่นผู้นั้นและเป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วน ท้องถิ่นก าหนด
ข้อ ๑๓ การโอน การรับโอน พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการตามกฎหมายอื่น ซึ่งไม่ใช่ ข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการวิสามัญ สามารถกระท าได้เพื่อประโยชน์และประสิทธิภาพในการ บริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการพัฒนาพนักงานส่วนท้องถิ่น การโอน การรับโอน พนักงานส่วนท้องถิ่น ให้คณะกรรมการกลางข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ก าหนดหลักเกณฑ์ให้พนักงานส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งมีโอกาสโอนไปปฏิบัติหน้าที่ ในระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการหรือ พนักงานส่วนท้องถิ่น การรับโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น ซึ่งไม่ใช่ข้าราชการการเมือง หรือ ข้าราชการวิสามัญมาบรรจุเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น อาจท าได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ โดยผู้บริหารท้องถิ่นหรือ ผู้มีอ านาจตามกฎหมายที่จะรับโอนท าความตกลงกับผู้มีอ านาจสั่งบรรจุของส่วนราชการหรือหน่วยงานสังกัดเดิม แล้วเสนอเรื่องให้คณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นพิจารณาให้ความเห็นชอบ การรับโอน ให้รับโอนมาแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือน ในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม เว้นแต่การรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการตามกฎหมายอื่น ผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือ พนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการของผู้ที่โอนมาในขณะ ที่เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการ ตามกฎหมายอื่นนั้น เป็นเวลาราชการในสังกัดใหม่ด้วย ข้อ ๑๔ การเลื่อนพนักงานส่วนท้องถิ่นขึ้นแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ให้พิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะส าหรับต าแหน่ง ผลงาน ความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ คุณธรรมและจริยธรรม ประวัติการปฏิบัติราชการ และการผ่านหลักสูตรอบรมตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงาน ส่วนท้องถิ่นก าหนด โดยให้ค านึงถึงประโยชน์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึงจะได้รับ การเลื่อนพนักงานส่วนท้องถิ่นขึ้นแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับคัดเลือกให้ด ารงต าแหน่งนั้น (ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศ ก.ถ. เรื่อง ก าหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗)
ข้อ ๑๕ การออกจากราชการของพนักงานส่วนท้องถิ่น นอกจากเป็นไปตามมาตรฐาน ทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนดไว้แล้ว พนักงานส่วนท้องถิ่น ออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก และได้รับอนุญาตให้ลาออก (๓) เป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามตาม ข้อ ๓
หมวด ๖ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพ และเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน ข้อ ๑๖ ให้มีการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความประพฤติ คุณธรรมและ จริยธรรมเพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและปฏิบัติตนของพนักงาน ส่วนท้องถิ่นตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด ข้อ ๑๗ พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น และปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการถือว่าผู้นั้น มีความชอบจะได้รับบ าเหน็จความชอบซึ่งอาจเป็นค าชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ รางวัล ประโยชน์ตอบแทนอื่น หรือการได้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณี ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงาน ส่วนท้องถิ่นก าหนด ข้อ ๑๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณา โดยค านึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา ความสามารถและ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ความมีคุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนการรักษาวินัยที่เหมาะสมกับการ เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ก าหนด การเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในหลักเกณฑ์ให้มี คณะกรรมการขึ้นพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามมาตรฐานทั่วไป ที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด ส าหรับโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ ให้เป็นตามมาตรฐานทั่วไปที่ คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด โดยค านึงถึงมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าว (ข้อ ๑๘ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศ ก.ถ. เรื่อง ก าหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗)
ข้อ ๑๙ การพัฒนาบุคคล ให้มีการพัฒนาผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นพนักงาน ส่วนท้องถิ่นก่อนมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติ เพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หลักและวิธีปฏิบัติราชการ บทบาทและหน้าที่ของข้าราชการในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และแนวทาง ปฏิบัติตนเพื่อเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ดี ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่พัฒนาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะท าให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งทางบริหาร ควรจัดให้มีการพัฒนาพนักงาน ส่วนท้องถิ่นผู้จะได้รับการเลื่อนต าแหน่งเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและ จริยธรรม อันจะท าให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในต าแหน่งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนให้มีการพัฒนาพนักงานส่วนท้องถิ่น ได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วย
ข้อ ๒๐ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการ ปฏิบัติราชการของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนขั้นเงินเดือน พัฒนาพนักงาน ส่วนท้องถิ่น เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และมีหน้าที่เสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติตนเหมาะกับการเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล การประเมินผลการปฏิบัติงานให้ค านึงถึงระบบการบริหารผลงานที่เชื่อมโยง ผลการปฏิบัติงานรายบุคคลไปสู่ผลการปฏิบัติงานระดับองค์กร คุณภาพและปริมาณงาน ประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ความมีคุณธรรมและ จริยธรรมตลอดจนการรักษาวินัยที่เหมาะสมกับการเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยจัดท าการประเมินอย่างน้อย ปีละ ๒ ครั้ง และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกประเมินชี้แจงหรือขอค าปรึกษาด้วย (ข้อ ๒๐ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศ ก.ถ. เรื่อง ก าหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗)
หมวด ๗ วินัย การรักษาวินัย และการด าเนินการทางวินัย
ข้อ ๒๑ พนักงานส่วนท้องถิ่นต้องรักษาวินัยตามที่ก าหนดเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติ
โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
ข้อห้ามและข้อปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้มีมาตรฐานเดียวกับที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้อ ๒๒ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัย ป้องกันมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระท าผิดวินัย และด าเนินการทางวินัยแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ ควร กล่าวหาว่ากระท าผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ ดังกล่าวโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้นั้นกระท าผิดวินัย ข้อ ๒๓ พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติทางวินัย ผู้นั้นเป็นผู้กระท าผิดวินัยจักต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษ ทั้งนี้ การลงโทษทางวินัยให้มี มาตรฐานเดียวกับที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้อ ๒๔ การด าเนินการทางวินัยแก่พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควร กล่าวหาว่ากระท าผิดวินัย ให้สอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรมโดยไม่ชักช้า เว้นแต่ เป็นกรณีที่ไม่จ าเป็น ต้องสอบสวน ซึ่งไม่ท าให้เสียความเป็นธรรมและจะสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาก็ได้ การสอบสวนตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาและสรุป พยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสชี้แจงและน าสืบแก้ข้อ กล่าวหา และ การให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาน าที่ปรึกษาหรือทนายความเข้าฟังในการชี้แจงหรือให้ปากค าของตน กระบวนการสอบสวนให้เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลาง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด
ข้อ ๒๕ ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดและมิให้เป็นไปโดยพยาบาท โดยอคติ หรือโดยโทสจริตหรือลงโทษผู้ที่ไม่มีความผิด การลงโทษพนักงานส่วนท้องถิ่นให้ท าเป็นค าสั่ง ในค าสั่งลงโทษให้แสดงข้อเท็จจริง พฤติการณ์การกระท าผิด ข้อกฎหมายและข้อพิจารณา ทั้งนี้ ให้ระบุสิทธิในการอุทธรณ์และระยะเวลาส าหรับ การอุทธรณ์ไว้ในค าสั่งลงโทษด้วย ข้อ ๒๖ พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่า กระท าหรือละเว้น กระท าการใดที่พึงเห็นได้ว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา ของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวน หรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือ เป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระท า ความผิดอาญา เว้นแต่ความผิดที่ได้กระท าโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลัง ผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว เว้นแต่ออกจากราชการเพราะตายก็ให้มีการสืบสวนหรือพิจารณาและ ด าเนินการทางวินัย ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ ข้อ ๒๗ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ด าเนินการทางวินัยหรือสั่งให้พนักงานส่วนท้องถิ่น ออกจากราชการไปแล้ว ให้มีการรายงานการด าเนินการทางวินัยหรือการสั่งให้ออกจากราชการดังกล่าวต่อ ผู้บังคับบัญชาตามล าดับชั้น เพื่อพิจารณาหรือตรวจสอบตามอ านาจหน้าที่ที่ก าหนดในกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือ พนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด ข้อ ๒๘ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาจากพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น หรือข้าราชการ ตามกฎหมายอื่น ผู้ใดมีกรณีกระท าผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุให้ผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้นั้น ด าเนินการทางวินัยต่อไปได้ หมวด ๘ การอุทธรณ์
ข้อ ๒๙ พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยให้มีสิทธิอุทธรณ์ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตาม มาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด และอย่างน้อยต้องมี สาระส าคัญในเรื่อง สิทธิในการอุทธรณ์ สิทธิในการคัดค้านผู้พิจารณาอุทธรณ์ด้วยเหตุอันสมควร สิทธิในการ ชี้แจงหรือแถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามความจ าเป็น สิทธิการถอนอุทธรณ์ และการก าหนดระยะเวลาการ พิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม
ข้อ ๓๐ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาจากพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นหรือข้าราชการ ตามกฎหมายอื่น ผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุและผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่โอนมานั้นแต่ยังมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว หรือได้ใช้สิทธิอุทธรณ์แต่การพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ หรือมีสิทธิได้รับการพิจารณา อุทธรณ์ต่อไปได้แล้วแต่กรณี
หมวด ๙ การร้องทุกข์
ข้อ ๓๑ พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือเห็นว่าผู้บังคับบัญชา ใช้อ านาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีความคับข้องใจ อันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้เป็นไปตาม มาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนด โดยมีหลักประกันและ หลักเกณฑ์พื้นฐานเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ เว้นแต่การร้องทุกข์ กรณีพนักงานส่วนท้องถิ่นเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อ านาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติต่อ ตนให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน อาจก าหนด ขั้นตอนการท าความเข้าใจกันระหว่างพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้นั้นกับผู้บังคับบัญชาเพื่อแก้ปัญหาในชั้นต้นก่อน ก็ได้ หมวด ๑๐ การบริหารงานบุคคลของพนักงานครูส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๓๒ พนักงานครูส่วนท้องถิ่น ได้แก่ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งด ารงต าแหน่ง เป็นผู้สอนประจ าในสถานศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือด ารงต าแหน่งอื่นซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้บริหาร หรือให้การศึกษาในสถานศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือด ารงต าแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการ ให้การศึกษาซึ่งไม่สังกัดสถานศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นน ากฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการครูในส่วนที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานครูส่วนท้องถิ่น โดยอนุโลม หมวด ๑๑ การบริหารงานบุคคลของลูกจ้าง
ข้อ ๓๓ การบริหารงานบุคคลส าหรับลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก าหนดมาตรฐานทั่วไป หลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติ ให้เหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติงานของลูกจ้างในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ให้น าข้อก าหนด ในประกาศฉบับนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๔ ผู้ใดเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ หรือพระราชกฤษฎีการะเบียบพนักงานเทศบาล พ.ศ. ๒๕๐๖ ประกอบกับพระราชกฤษฎีการะเบียบพนักงานเทศบาล พ.ศ. ๒๕๑๙ อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นวิสามัญตามกฎหมายนั้นต่อไป
ข้อ ๓๕ การใดที่ได้ด าเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการหรือ พนักงานส่วนท้องถิ่นที่ใช้อยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับและมิได้ก าหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔
นายอาษา เมฆสวรรค์ ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
** หมายเหตุ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๖๒ ง ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๔